top of page

ให้เกษตรกรมีความพอเพียง โดยเลี้ยงตัวเองได้ในระดับชีวิตที่ประหยัดทั้งนี้ ต้องมีความสามัคคีในท้องถิ่นมีการผลิตข้าวบริโภคพอเพียงประจำปี โดยถือว่าครอบครัวหนึ่ง ทำนา 5 ไร่ จะมีข้าวพอกินตลอดปี (หลักสำคัญของทฤษฎีนี้)ต้องมีน้ำ 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่กำหนดการแบ่งพื้นที่อัตรา 30-30-30-10 (15 ไร่) คือ
                สระน้ำ 3 ไร่ ลึก 4 เมตร (30 %)
                นา 5 ไร่ (30 %)
                พืชไร่และพืชสวน 5 ไร่ (30 %)
                ที่ยู่อาศัยและอื่นๆ 2 ไร่ (10 %)

 

เกษตรทฤษฎีใหม่ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติหนึ่งของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีขั้นตอนของการพัฒนาแบ่งออกได้ 3 ขั้น คือ

ขั้นที่ 1 ทฤษฎีใหม่ขั้นต้น

เริ่มต้นจากการมุ่งแก้ปัญหาของเกษตรกรที่มีน้ำไม่เพียงพอสำหรับการเกษตร โดยการใช้แนวทางการจัดทำแหล่งน้ำขนาดเล็กในฟาร์ม เช่น การขุดบ่อ ซึ่งจะทำให้ลดความเสี่ยงในเรื่องน้ำ เกิดหลักประกันในการผลิตอาหารเพื่อการยังชีพเบื้องต้น  ส่วนที่ดินการเกษตรอื่น จะใช้ในการผลิตเพื่อตอบสนองกับความต้องการพื้นฐานอื่นของครอบครัว ซึ่งอาจมีการขายผลผลิตส่วนเกินเพื่อเป็นรายได้ สำหรับใช้จ่ายในการยังชีพที่จำเป็น ที่ไม่สามารถผลิตเองได้  การเกษตรทฤษฎีใหม่ในขั้นนี้  จึงเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในระดับครอบครัว  แต่เกษตรกรส่วนใหญ่อาจไม่สามารถเริ่มต้นในขั้นตอนแรกนี้ได้ และอาจจำเป็นที่หน่วยงานต่างๆ จะต้องจัดความช่วยเหลือเพื่อสนับสนุนเกษตรกร

ในเกษตรทฤษฎีใหม่ขั้นต้นนี้ มีแนวทางสำคัญในการการจัดสรรที่ดินการเกษตรและที่อยู่อาศัย โดยแบ่งพื้นที่ ออกเป็น 4 ส่วน ตามอัตราส่วน 30:30:30:10 คือ พื้นที่ส่วนที่หนึ่งประมาณ 30% ให้ขุดสระเก็บกักน้ำ เพื่อใช้เก็บกักน้ำฝนในฤดูฝนและ ใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้ง ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์น้ำและพืชน้ำต่างๆ  พื้นที่ส่วนที่สองประมาณ 30% ให้ปลูกข้าวในฤดูฝน เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันในครัวเรือนให้เพียงพอตลอดปี เพื่อตัดค่าใช้จ่ายและสามารถพึ่งตนเองได้ พื้นที่ส่วนที่สามประมาณ 30% ให้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร ฯลฯ เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวัน หากเหลือบริโภคก็นำไปจำหน่าย และพื้นที่ส่วนที่สี่ประมาณ 10% ใช้เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ และโรงเรือนอื่นๆ (กรมพัฒนาที่ดิน 2553)

ในขั้นแรกที่เป็นการผลิต ถือเป็นขั้นสำคัญที่สุด ให้แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ตามอัตราส่วน 30 : 30 : 30 : 10 หมายถึง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

     รูปแสดงการจำลองสระเก็บนำพื้นที่ประมาณ 30%

 

ขุดสระเก็บกักน้ำ
                พื้นที่ประมาณ 30% ให้ขุดสระเก็บกักน้ำ เพื่อให้มีน้ำใช้สม่ำเสมอตลอดปี โดยเก็บกักน้ำฝนในฤดูฝน และใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้ง หรือระยะฝนทิ้งช่วง ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์ และพืชน้ำต่างๆ เช่น ผักบุ้ง ผักกระเฉด โสน ฯลฯ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

      รูปแสดงภาพการจำลองการปลูกข้าวพื้นที่ประมาณ 30%

 

ปลูกข้าว
                พื้นที่ประมาณ 30 % ให้ปลูกข้าวในฤดูฝน เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันสำหรับครัวเรือนให้เพียงพอตลอดปี โดยไม่ต้องซื้อหาในราคาแพง เป็นการลดค่าใช้จ่าย และสามารพึ่งตนเองได้

 

รูป 4 แสดงการจำลองปลูกผลไม้ ไม้ยืนต้นพืชไร่พืชผักพื้นที่ประมาณ 30

ปลูกผลไม้ ไม้ยืนต้น พืชไร่ พืชผัก
                พื้นที่ประมาณ 30 % ให้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชไร่ พืชผัก พืชสมุนไพร ฯลฯ อย่างผสมผสานกัน และหลากหลายในพื้นที่เดียวกัน เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวัน หากเหลิอจากการบริโภคก็นำไปขายได้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

      รูปแสดงการจำลองเป็นที่อยู่อาศัย และอื่นๆพื้นที่ประมาณ 10 %

เป็นที่อยู่อาศัย และอื่นๆ
                พื้นที่ประมาณ 10 % ใช้เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ ถนนหนทาง คันดิน โรงเรือนและสิ่งก่อสร้างอื่น๐ รวมทั้งคอกเลี้ยงสัตว์ เรือนเพาะชำ ฉางเก็บผลิตผลการเกษตร ฯลฯ

 

ขั้นที่ 2 ทฤษฎีใหม่ขั้นกลาง

                เมื่อเกษตรกรได้เริ่มต้นปฏิบัติตามเกษตรทฤษฎีใหม่ขั้นต้นแล้ว มีความพอเพียง และความมั่นคงในขั้นพื้นฐานระดับหนึ่งแล้ว ในขั้นตอนต่อมาจึงเป็นเรื่องของการรวมกลุ่มเกษตรกรในรูปแบบต่าง เช่น กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ หรือวิสาหกิจ  ซึ่งการร่วมมือกันนี้ก็เพื่อสร้างประโยชน์ให้เกิดขึ้นกับกลุ่มโดยรวม บนพื้นฐานของการไม่เบียดเบียนกัน การแบ่งปันช่วยเหลือกันตามกำลัง และความสามารถของตน ซึ่งจะทำให้ชุมชนโดยรวมเกิดความพอเพียงในวิถีปฏิบัติด้วย

ขั้นที่ 3 ทฤษฎีใหม่ขั้นก้าวหน้า

                กลุ่มเกษตรกรที่ได้ดำเนินการตามทฤษฎีใหม่ในขั้นกลาง จนประสบความสำเร็จเบื้องต้น อาจก้าวเข้าสู่ขั้นก้าวหน้า โดยการประสานความร่วมมือกับองค์กรอื่นๆ ในระดับประเทศ เพื่อยกระดับการทำธุรกิจ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร เช่น การทำความร่วมมือกับธนาคาร เพื่อนำเงินมาลงทุนในธุรกิจ หรือการทำข้อตกลงกับบริษัท เพื่อขายผลผลิตให้

ในประเทศไทย มีหน่วยงานจำนวนมาก โดยเฉพาะหน่วยงานราชการ ที่ส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่  แต่หน่วยงานประสานงานหลักเกี่ยวกับการส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ คือ มูลนิธิชัยพัฒนา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

 

          รูปภาพแสดงการแบ่งพื้นที่ตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม

หลักการสำคัญของทฤษฎีใหม่

Rattanaburi School

  • Facebook Clean Grey
  • Twitter Clean Grey
  • LinkedIn Clean Grey

เด็กเกษตรก้าวไกลสู่...AEC

bottom of page